โรคและศัตรูหมากเม่า

1.โรคของหมากเม่า
                          หมากเม่าเป็นไม้พื้นเมือง จึงมีความทนทานต่อโรคและแมลงสูง ไม่ค่อยพบโรคมา รบกวนเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะมีเฉพาะโรคโคนเน่าและรากเน่า 
                   ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรา ที่เกิดจากความชื้นแฉะของน้ำที่ท้วมขังในที่ราบลุ่ม ทำให้โคนหรือรากเน่าวิธีแก้ไขและป้องกันคือ ระบายน้ำออกอย่าให้น้ำท่วมขัง
                   หรือชื้นแฉะและพ่นด้วยสารเคมีจำพวกป้องกันเชื้อรา
2.ศัตรูของหมากเม่า
           2.1.หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง
                        ลักษณะของตัวหนอนเมื่อแก่เต็มวัย ลำตัวมีสีชมพูแดงยาวประมาณ 2 ..มีขนสีแดงขึ้นตามลำตัว ลำตัวมี 9 ปล้อง ส่วนหัวและก้นมีสีเหลืองคาดดำ ปากมีสีแดง โดยจะเริ่มจากการวางไข่ของตัวหนอนแก่เต็มวัย บริเวณเปลือกของต้นหมากเม่าที่ขรุขระ เมื่อฟักเป็นตัว ตัวหนอนจะเจาะกินเปลือกเข้าไปในลำต้นและทำลายไร้ทิดทาง ส่งผลให้ท่อน้ำท่ออาหารขาด  ต้นหมากเม่าจะแสดงอาการเหี่ยวและใบเหลืองแห้งตายกะทันหัน ลำต้นจะหักพับลง หนอนชนิดนี้ระบาดได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งหลังจากหมดฤดูฝน
                  การป้องกันกำจัด
                 1.ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งอยู่เสมอ ให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น
                 2.ถ้าพบรอยผิวขรุขระหรือมีรอยแตกแยกหรือมีรูเจาะบริเวนโคนต้นหรือลำต้นให้สารเคมีกำจัดหนอนและแมลงชื่อเชนไดร้ท์ชนิดกระป๋องที่มีหัวฉีดยาวประมาณ 22 เซนติเมตรฉีดพ่นตรงบริเวณที่พบ จะทำให้ตัวหนอน และดักแด้ตาย
                 3.ทาโคนต้นหรือลำต้นด้วยสารกำจัดแมลงที่มีกลิ่นฉุนเช่น น้ำมันเครื่องเก่า
                 4.ใช้สารเคมีประเภทดูดซึมรวยรอบโคนต้นแล้วพรวนดินกลบเช่น ฟูราดาน
           2.2.หนอนเจาะเปลือก
                        ลักษณะของตัวหนอน ลำตัวเป็นปล้องๆยาว 3- 6 เซนติเมตร มีสีเหลืองอ่อนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ปากและก้นมีสีดำ ตัวหนอนจะกัดกินเนื้อเยื่ออ่อนๆและไชกัดกินเนื้อไม้ท่อน้ำท่ออาหารแบบชนิดไร้ทิศทาง จะสังเกตเห็นได้ง่ายคือ สิ่งขับถ่ายออกมาเป็นก้อนๆคล้ายขี้เลื่อยตกอยู่ตามพื้นดิน
การป้องกันกำจัด ให้ปฏิบัติตามการป้องกันกำจัดของข้อ 2.1.
            2.3.ด้วงหนวดปมลายจุดเหลืองดำ
                         ลักษณะของตัวด้วง ลำตัวยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร มีสีลายจุดเหลืองดำ มีหนวดเป็นปมลายเหลืองดำ 1 คู่ ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ด้วงจะแทะกัดกินเปลือกบริเวณกิ่งอ่อน ในเวลาตอนเช้ามืด เมื่อกัดกินอิ่มแล้วจะบินหนีไป บริเวณกิ่งอ่อนที่แทะจะเหี่ยวเฉาและแห้งตาย ด้วงชนิดนี้จะระบาดในฤดูฝนเท่านั้น
                การป้องกัดกำจัด
                        1.ในเวลาตอนเช้าให้หมั่นเดินตรวจสอบดูบริเวณกิ่งปลายยอดบ่อยๆ ถ้าพบให้ใช้ไม้สอยจับทำลาย
                        2.ฉีดพ่นด้วยสารเคมีบริเวณปลายยอดกิ่งสัปดาห์ละ 1 ครั้งเช่น เซฟวิน 85%
          2.4.แมลงกัดกินยอดอ่อน หนอนม้วนใบ หนอนกระโดด เพลี้ยหอยและแมลงกินใบ
                         หนอนและแมลงพวกนี้จะระบาดในช่วงฤดูฝน จะเข้าทำลายในใบและยอดอ่อนเท่านั้น จึงสามารถกำจัดได้ง่าย โดยใช้สารเคมีประเภทถูกตัวตายฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้งเมื่อมีการระบาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น