หมากเม่า คือ


การเรียกชื่อหมากเม่า
            หมากเม่า เป็นภาษาอีสานใช้เรียกชื่อไม้ผลชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นในประเทศไทยเรียกว่า เม่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ Antidesma thwaitesianum Muell. Arg. วงศ์  Euphorbiaceae ตระกูล(Family) สติลาจินาเซียอี(Stilainaceac) สกุล(Genus) แอนติเดสมา(Antidesma)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            หมากเม่า หรือเม่าหลวง จัดเป็นไม้ยืนต้นที่ไม่พลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 6-15 เมตร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดกิ่ง ช่อดอกคล้ายช่อพริกไทย ดอกจะแยกเพศต่างต้น ออกดอกปีละ ครั้งในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม มีการเรียงตัวแบบสลับ ผลหมากเม่าจัดเป็นไม้ผลชนิดฉ่ำน้ำ ขนาดผลรูปวงรี กว้าง 0.7-1.0 เซนติเมตร ยาว 0.8-1.3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 0.3-0.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวหรือสีขาวนวล ผลเริ่มแก่มีสีแดง ผลสุกมีสีดำ ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยวและฝาด ลักษณะของช่อผลจะยาวหรือสั้น ผลดก ลูกเล็กหรือลูกใหญ่ ผลมีรสหวาน รสฝาด หรือเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับลักษณะของสายพันธุ์ต้นหมากเม่าของแต่ละต้น การติดผลติดปีเว้นปี  ผลเมื่อสุกแก่เต็มที่เมล็ดสีน้ำตาล เมล็ดมีการพักตัวใช้เวลางอกหลังเพาะ 1-3 เดือน ผลสุกระหว่างปลายเดือนกรกฎาคม สุกเต็มที่เดือนสิงหาคม และเริ่มวายในเดือนกันยายนของทุกปี
หมากเม้าที่มีผลเกือบจะสุก
ลักษณะลำต้นของต้นหมากเม้า
ต้นนี้มีความสูงประมาณ 6.00 เมตร
กำลังออกลูกให้เจ้าของบ้านได้เชยชม
ลักษณะของลูกที่ยังเขียว
ลูกที่กำลังเหิ่ม
ลูกที่กำลังสุก
ผลิตภัณฑ์ ไวน์หมากเม่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น